top of page
รูปภาพนักเขียนชัยทวี เสนะวงศ์

Data Scientist: อาชีพใหม่ในศตวรรษที่ 21

ชัยทวีเสนะวงศ์ | Chaitawees@gmail.com

โลกยุค Digital Economy ที่สังคมเปลี่ยนผ่านเข้ามาสู่ยุคอินเตอร์เน็ต สังคมเต็มไปด้วยคอนเทนต์ที่คนทั่วไปสร้างขึ้น และใส่ข้อมูลเข้าไป (User-Generated Content) ทำให้มีข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล (Big Data) ทั้งจากแหล่ง Online และ Offline สังคมเป็นสังคมแห่งข้อมูล ที่ข้อมูลสามารถสร้างโอกาสอย่างมากมายให้กับผู้เข้าถึง และใช้ประโยชน์จากข้อมูลเป็น เช่น การพัฒนาคุณภาพการให้บริการ การทำกิจกรรมส่งเสริมการตลาด การใช้ข้อมูลมาประกอบการตัดสินใจ เป็นต้น จนมีผู้รู้หลายๆท่านกล่าวว่า “Data is the new currency” ที่ทุกๆ คน ทุกๆ องค์กร ต่างแข่งขันกันหาทางเข้าถึงแหล่งข้อมูล และนำข้อมูลนั้นๆมาใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน การนำเสนอสินค้า หรือ บริการ และ เข้าถึงลูกค้า ให้มีความ แตกต่างได้ดีกว่าคู่แข่งขัน หรือการนำข้อมูลมาเป็นสินค้าตรงๆ เช่น กรณีของ Facebook ที่The Guardian, The Observer และ New York Time เปิดเผยว่ามีการจัดการข้อมูลของผู้ใช้ Facebook ไม่ดีพอ จนมีการนำข้อมูลของผู้ใช้ Facebook ประมาณ 80 ล้านกว่าบัญชีไปขายให้กับบริษัทที่ปรึกษาทางการเมืองชื่อ Cambridge Analytica บริษัทนี้นำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ จัดกิจกรรมทางการตลาดหาเสียงให้กับคุณโดนัล ทรัมป์ แบบ Micro targeting ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Psychographic ปรากฏการณ์นี้เป็นส่วนหนึ่ง (ที่สำคัญ) ที่อาจจะทำให้ คุณโดนัล ทรัมป์ ได้รับชัยชนะในการลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนล่าสุดของสหรัฐอเมริกา


เมื่อสังคมโลกขับเคลื่อนด้วยสังคมข้อมูลจำนวนมาก จนมีการเปรียบเทียบว่า ข้อมูล (Data) เปรียบได้กับทอง หรือ น้ำมันยุคใหม่ และเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรต้องการเข้าถึง และใช้ประโยชน์ เพราะข้อมูลจะนำมาซึ่งความเข้าใจพฤติกรรม และความต้องการของผู้คน หรือ ลูกค้า ปัญหาที่จะเกิดตามมาคือ องค์กรจะเข้าถึง ใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างไร จากเดิมองค์กรใช้ข้อมูลแค่ประมวลผล แล้วสร้างเป็นทางเลือกเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ซึ่งไม่น่าจะเพียงพอสำหรับสังคมปัจจุบัน การใช้ประโยชน์จากข้อมูลนับจากนี้ไป เมื่อประมวลผลแล้ว ต้องตามมาด้วยการวิเคราะห์ พยากรณ์ หาแนวโน้ม เพื่อบอกว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคตบนฐานข้อมูลแบบนี้ และต้องพัฒนาต่อถึงการตั้งคำถามแบบ What-if เพื่อจำลองสถานการณ์และดูผลกระทบจากการตัดสินใจในทางเลือกต่างๆ การบริหารจัดการ Big Data ดังกล่าวต้องกระทำการอย่างมีวิชาชีพ สังคมข้อมูลจึงเกิดอาชีพใหม่ๆ ตามมาเป็นจำนวนมาก เช่น Data Analytic, Content Editor, Social administer, Application Creator, Reviewer, Blogger และ Youtuber ฯลฯ อาชีพ “Data Scientist (นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล)” ก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่เกิดขึ้นมาในสังคมข้อมูล ที่กำลังร้อนแรง ทั้งในแง่ของความต้องการ และ การผลิต ที่แทบจะทุกองค์กรในศตวรรษที่ 21 กำลังถวิลหา

เพื่อให้ผู้สนใจได้เข้าถึง อาชีพนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ที่วารสาร Harvard Business Review ได้นำบทความของ Thomas H. Davenport and D.J. Patil ชื่อ “Data Scientist: The Sexiest Job of The 21st Century”ตีพิมพ์เมื่อเดือนตุลาคม 2012 ให้มากขึ้นผู้เขียนจะขอขยายความถึงอาชีพนี้ให้ทราบในประเด็นสำคัญๆ ดังนี้

1. นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล หมายถึงใคร:นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล หมายถึงบุคคลที่มีหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างโจทย์ของผู้บริหารองค์กร กับข้อมูล เพื่อให้ได้มาซึ่งทางออกที่มีประสิทธิภาพที่สุด


2. กระบวนการปฏิบัติงานของนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล:โดยทั่วไปนักวิทยาศาสตร์จะมีกระบวนการปฏิบัติงานคร่าวๆ


3. ทักษะที่จำเป็นสำหรับนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล :เนื่องจากอาชีพนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลเป็นอาชีพใหม่ที่กำลังมาแรง ในสังคม Big Data หลายๆ คนคงอยากจะรู้ว่าถ้าจะประกอบอาชีพนี้จะต้องมีทักษะ และ ความรู้ อะไรบ้าง


เพื่อแก้ปัญหานี้ในองค์กรที่ใช้ Data Scientist จำนวนมากๆ เช่น Facebook, google, Apple, Amazon เป็นต้น ได้มีการปรับปรุงกระบวนการคัดเลือก Data Scientist จะใช้รูปแบบที่เรียกว่า “STEMpathy” คือนอกจากทดสอบความรู้เรื่อง ทางเทคนิค เช่น Science, Technology, Engineering และ Mathematic แล้ว จะทดสอบทักษะทางด้านความเข้าใจและสามารถที่จะทำงานร่วมกับคนอื่นได้ (Empathy) เพิ่มเติมเข้าไปอีกด้วย บางองค์กรใน Silicon Valley ถึงกับระบุไว้เลยว่าพนักงานที่เขาจะรับเข้าทำงานจะต้องผ่านการทดสอบทักษะการทำงานร่วมกับคนอื่นก่อน เพราะเขาเชื่อว่าความรู้ทางเทคนิคสอนกันได้ แต่ทักษะการทำงานร่วมกับคนพัฒนายาก สอนยาก


ติดตามเนื้อหาฉบับเต็มได้ที่ วารสารการบริหารฅน People Magazine Vol.2.2561 Article - Data Scientist: อาชีพใหม่ในศตวรรษที่ 21 ผู้เขียน ชัยทวีเสนะวงศ์
ดู 329 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page