บรรยายโดย คุณดาววันโรจนพฤกษ์ | Thailand HR Day 2018
ในโลกนวัตกรรม โดยเฉพาะในเรื่องของ Smart phone มันเป็น device ที่มีระบบต่างๆ ที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังมากมาย แล้วเราจะไปหาคนที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องพวกนี้ได้ยังไง การหา Talent ในโลกดิจิทัลหรือเทคโนโลยี จึงมีความท้าทาย เพราะเราไม่สามารถหาคนกลุ่มนี้ได้ในตลาดทั่วไป
จากรายงานการสำรวจบริษัทในเอเชีย พบว่า มีบริษัทถึงร้อยละ 71 ที่กำลังเผชิญกับปัญหาการ ขาดแคลนกลุ่มคนเก่ง (talent shortage) สำหรับประเทศไทย คนที่มีประสบการณ์ คนที่เป็น Top หรืออยู่บนยอดพีระมิดของบุคลากรที่มีอยู่ในตลาดมีค่อนข้างน้อย ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งประเทศที่ประสบปัญหากับความขาดแคลนกลุ่มคนเก่งมากที่สุดในเอเชีย
สำหรับพนักงานส่วนใหญ่ของ Thai Samsung นั้น มีจำนวนกว่าร้อยละ 60-70 ที่อยู่ในช่วง Gen Y เฉลี่ยมีอายุประมาณ 30 กลางๆ ซึ่งลักษณะของคนกลุ่มนี้ ได้แก่ การทำงานที่ยืดหยุ่น (Flexible work schedule), การให้ความสำคัญเรื่องของเงิน (money) ชื่อเสียง (fame) และภาพลักษณ์ (Image), มีความเปิดกว้าง (open-minded), มีความฉลาดทางเทคโนโลยี (tech savvy), ต้องการได้รับคำแนะนำหรือ Feedback และต้องการการเติบโตทางอาชีพที่รวดเร็ว (grow career fast) ดั้งนั้นแล้ว เมื่อลักษณะและความต้องการของกลุ่ม Young talent ในปัจจุบันเป็นแบบนี้ เราในฐานะ HR จะต้องมีการบริหารจัดการกลุ่มคนเก่งเหล่านี้ได้อย่างไร
ทาง Thai Samsung ได้นำเสนอมุมมองในการทำ Talent management ในธุรกิจยุค 4.0 ไว้ดังนี้
1. Focus on “Today”, not on the “Future”
HR Intervention ต้องตอบสนองกับโลกภายนอกหรือคู่แข่งได้อย่างรวดเร็ว โดยต้องทำการวางแผนกำลังคนใหม่ การวางคนเก่ง (Talent) ไว้ในตำแหน่งหรืองานที่สำคัญๆ การวาง Career path ให้กับพนักงานที่เป็น talent ได้เติบโตในระยะเวลาที่สั้นลง เพราะการไปสัญญาอะไรกับ talent ใน 3 หรือ 5 ปีข้างหน้ามันไกลเกินไปในโลกนวัตกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วเพราะคนกลุ่มนี้ต้องการ Fast career เราต้องสามารถเตรียม talent ให้ทันกับความต้องการของธุรกิจในช่วงเวลานั้นๆ รวมถึงการ focus on new skills ได้แก่ Complex problem-solving, Cognitive abilities และ Social skills
2. Individual Approach
HR ต้องวางแผนในการดูแลพนักงานที่แตกต่างกันในแต่ละตัวบุคคล เราต้องออกแบบประสบการณ์การทำงานและโอกาสในการเติบโตที่เหมาะสมกับความต้องการ (Needs) และความปรารถนา (aspirations) ส่วนบุคคลของพวกเขา เช่น การให้ assignment การ Rotation หรือ Promotion เป็นต้น
3. Talent pool
การสร้าง talent pool ขององค์กรให้ใหญ่ขึ้น ทั้งการหา candidates ของ recruiter เองผ่าน LinkedIn และการใช้ Externals อย่าง Recruitment agency หรือ partners ต่างๆ เราต้องขยายฐานการหากลุ่มคนที่มีศักยภาพ (Potential candidates) ว่าพวกเขาอยู่ในธุรกิจแหล่งใดบ้าง
อย่างที่ Samsung นั้นสร้างโปรมแกรมการฝึกงานที่เรียกว่า Samsung Asia Elite Program 2018 ซึ่งเป็นการคัดเลือกคนที่มีความสามารถสูงและอยู่ในมหาวิทยาชั้นนำของประเทศ (Top tier) โดยการเข้ามาทำงานในงาน 3 แผนก ได้แก่ Sale, Product management และ Retail management & Marketing ซึ่งคนกลุ่มเหล่านี้ที่เป็น Fresh graduate จะเป็นทรัพยากรที่สำคัญ (Source of talent) สำหรับองค์กรของเราในอนาคต
4. Performance consulting
HR ต้องไม่เพียงแต่ทำ Performance evaluation แต่เราต้องเป็นที่ปรึกษาเรื่องสมรรถนะในการทำงานของพนักงานด้วย การให้ Feedback ที่ base on real performance ซึ่งควรทำทุกๆ กลางปีและปลายปี การรับฟัง Voice of Employee ทั้งในเชิงที่เป็น Positive หรือ Constructive feedback เพื่อนำ feedback เหล่านั้นมาปรับปรุงและพัฒนาต่อไป ต้องสร้างระบบในการ mentoring และ executive coaching อีกทั้งต้องสร้าง Performance improvement plan ให้กับพนักงานเป็นรายบุคคล
5. More focus on Team
การพัฒนาทีมที่เป็น Cross-functional taskforce คือ การสร้างทีมเฉพาะกิจ ในการทำงานร่วมกันข้ามสายงานหรือกลุ่มธุรกิจต่างๆ อย่างเช่นใน Samsung เองมีการสร้างทีมทำงานร่วมกันกับ Indochina market ด้วย ซึ่งในกลุ่มประเทศเหล่านี้ยังต้องพึ่งพา know-how ของประเทศไทยอยู่มาก เพราะ talent ในประเทศเหล่านั้นค่อนข้างขาดแคลน การสร้าง taskforce จึงเป็นเรื่องที่จำเป็น โดยการดึงพนักงานในประเทศไทยที่เก่งๆ มารวมทีมกัน เพื่อเข้าไปวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการทำงานในตลาด Indochina ซึ่งเราต้องพยายามทำเกิดเครือข่ายของการทำงานแบบทีมอย่างนี้ในองค์กร
6. Talent experience
การสร้างประสบการณ์ของพนักงาน (employee experience) ซึ่งจะเห็นได้ว่า Young talent ในปัจจุบันนั้นมีความสามารถทางด้านเทคโนโลยี (tech savvy) ดังนั้นเราต้องใช้เทคโนโลยีและสื่อสังคมออนไลน์ (Social media) เข้ามาใช้ในการออกแบบกิจกรรมในองค์กรให้มากขึ้น เช่น การสร้าง hashtag# activities ซึ่งมันเป็นการสร้าง employer branding ขององค์กรไปด้วยในตัว รวมถึงการสร้าง Talent Life Cycle ที่ทำให้พนักงานเข้าถึงข้อมูลหรือระบบต่างๆ ผ่านทาง online platform เช่น Online training, Live chat เป็นต้น
7. Innovation work culture
การสร้างบรรยากาศในการทำงานให้สอดคล้องกับการทำธุรกิจ การสร้างบรรยากาศที่เอื้อให้เกิด creative ideas การไม่บังคับพนักงานด้วยมาตรฐานหรือนโยบายที่มาจาก global ในทันทีทันใด แต่ต้องปล่อยให้พวกเขาได้ค่อยๆ ปรับตัว การสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่กระตุ้นให้คนเน้นไปที่ solutions ไม่ใช่ที่ problems และการทำงานที่ drive ด้วย Issues เราต้องคอยตรวจสอบอยู่เสมอว่าตอนนี้มีประเด็นอะไรต่างๆ เกิดขึ้นภายในองค์กรหรือสภาวะการแข่งขันภายนอกที่อยู่รอบตัวเรา
8. New rewards: Personalized
Talent นั้นต้องการการตอบสนองด้วยเงิน ผลงานของพวกเขาต้องถูกตอบสนองด้วย Incentive หรือ Rewardรูปแบบใหม่ๆดังนั้นเราต้องสร้างสิ่งที่ motivate และ drive ในสิ่งที่พวกเขาต้องการแบบ personalized เพื่อกระตุ้นให้พวกเขาสามารถสร้างผลงานที่ดีหรือมี performance ในการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Comments