top of page
รูปภาพนักเขียนดร.หทัยชนก วานิชศรี

ความท้าทาย (และโอกาส) 5 ประการในยุค “Never Normal”

ดร.หทัยชนก วานิชศรี | Consultant & Facilitator, PacRim Group

สำหรับคนทำธุรกิจ ทำมาค้าขายช่วงนี้ถ้าได้ไปคุย จะเอ่ยปากเป็นเสียงเดียวกันว่าปีที่แล้วที่ว่าแย่ ปีนี้คูณ 2 หรือ 3 ของความแย่เข้าไปอีก ขณะที่กำลังคน หรือทรัพยากรที่มีมันไม่ได้เป็น “ตัวคูณ” หรือ “มัลติพลาย” แบบเดียวกัน หลายองค์กรพบว่ามันเป็น “ตัวหาร” ด้วยซ้ำ หมายถึงกำลังคนที่น้อยลง ทรัพยากร (ทุน ฯลฯ) น้อยลง แต่งานและปัญหามากขึ้น โจทย์ยากขึ้น ฯลฯ


หนึ่งในคำตอบสำคัญคือ นวัตกรรม หรือภาวะความเป็นผู้นำของผู้นำทุกระดับในองค์กรที่จะสามารถทำตัวเป็น “multipliers” หรือตัวคูณให้องค์กรสามารถ “Do less for more “ ให้ได้นั่นเอง


แต่ก่อนที่เราจะริเริ่มอะไรใหม่ ๆ เราลองมาสำรวจดูบริบท หรือสถานการณ์ความท้าทายต่าง ๆ ที่เรากำลังเผชิญอยู่ ซึ่งแต่ละองค์กรคงจะมีโจทย์และความท้าทายไม่เหมือนกัน ในที่นี้เราจึงขอสรุปถึงความท้าทาย (และโอกาส) 5 ประการที่ทุกองค์กร หรือพนักงาน มนุษย์เงินเดือน และเจ้าของธุรกิจทุกคนน่าจะต้องเจอเหมือน ๆ กันโดยส่วนใหญ่ ดังนี้คือ


1. The Big shift of old competitive advantage

2. Digital transformation requires new capability

3. New Normal Requires Multi-skills

4. Huge Opportunity to tap into people’s full potential

5. How to sustain momentum of changes after crisis


1. The Big shift of old competitive advantage

สิ่งที่เคยเป็นความได้เปรียบของเราในอดีต วันนี้อาจกลายเป็นความเสียเปรียบของเรายกตัวอย่างเช่น การมีหน้าร้าน ในทำเลดี ๆ เมื่อก่อนแย่งกัน เวลาห้างเปิดใหม่ ตอนนี้กลับกลายเป็นต้นทุน เมื่อผู้บริโภคหันไปซื้อของจากร้านค้าออนไลน์ที่มีต้นทุนถูกกว่าเห็น ๆ ทั้งไม่ต้องเสียค่าเช่าร้าน ค่าแต่งร้าน จ้างเด็ก ค่าน้ำ ไฟ ฯลฯ แล้วก็ขายถูกกว่าเรา มีของให้เลือกมากกว่า


ดังนั้นมาถึงวันนี้ธุรกิจต้องทบทวนสิ่งที่ทำอยู่ เพราะหลายๆ อย่างที่เคยเป็นจุดแข็ง เคยเป็นความสำเร็จของเรา วันนี้อาจกลายเป็นจุดอ่อน อย่างที่คุณพรทิพย์ อัยยิมาพันธ์ ซีอีโอ แพคริม กรุ๊ปเคยกล่าวไว้ว่า “อะไรที่เคยพาเรามาถึงวันนี้ บางทีอาจจะกลายเป็นจุดอ่อนที่เราจะนำพาเราไปสู่ New Normal ก็ได้”

หรือ “What got you here, won’t get you there” นั่นเอง


คนที่ยิ่งเคยสำเร็จในอดีต ในวันข้างหน้าอาจจะยิ่งล้มเหลวก็ได้ หากยึดติดกับความสำเร็จในอดีต ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะโลกมันเปลี่ยนไปอย่างมาก อย่างเช่น ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ที่ใครมีโรงงานอุตสาหกรรม บางคนพูดกันเลยว่าเป็น “อุตส่าห์ หา-กรรม” เพราะจากที่เคยเป็นสินทรัพย์ที่ก่อร่างสร้างขึ้นมา และสร้างความได้เปรียบให้กับเราเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่ไม่มีโรงงาน เมื่อจีนกลายเป็นโรงงานของโลกที่ปั๊มของถูกๆ ออกมาท่วมตลาด คนที่มีโรงงานบางประเภทกลับกลายเป็น handicap หรือ liability ที่ทำให้สู้กับจีนไม่ได้ คนที่ตัดใจได้ ปรับตัวได้ก็ยอมลด ละเลิก ปิดโรงงานไปให้เห็นกันมากมาย


2. Digital transformation requires new capability

ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น ทำให้องค์กรต้องสร้างขีดความสามารถใหม่ รวมทั้งคนในองค์กร ผู้นำและพนักงานทุกระดับในองค์กรจำเป็นต้องมีทักษะ และมายด์เซตใหม่ที่สอดคล้องกับยุคดิจิทัล เช่น การพัฒนาทักษะหรือช่องทางการขายออนไลน์ จะเห็นว่าปัจจุบันขนาดค่ายรถบางค่ายยังเปิดแอพให้คนสั่งจองรถทางมือถือได้ ซึ่งนั่นหมายความว่าทีมงานขายเองก็จะต้องปรับตัวและปรับบทบาทตามเทคโนโลยีเหล่านี้ให้ทัน เมื่อคนพร้อมจะซื้อของราคาหลายแสน หรือเป็นล้านผ่านแอพกันแบบชิว ๆ แล้ว เมื่อเขามาที่โชว์รูมบางครั้งอาจจะแวะมาแค่ดูสีจริง รูปลักษณ์จริง ขอทดลองขับ แล้วคลิกจ่ายเงินเลยก็ได้


คุณสมบัติของผู้นำในยุคดิจิทัลก็ต้องเปลี่ยนไป เนื่องจากสปีดในตลาด ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขัน หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ของผู้บริโภค สปีดในการตัดสินใจ หรือ execute ในองค์กรก็จะต้องเร็ว และ agile มากขึ้น ผู้นำที่ต้องคอนโทรล ดูรายละเอียดทุกเม็ดจะพบว่าตัวเองทำงานได้ยากลำบากมากขึ้น ต้องเรียนรู้เทคนิคและปรับโครงสร้างองค์กรลดขั้นตอน และให้อำนาจการตัดสินใจและการปฏิบัติการให้ เป็น พีรามิดหัวกลับ คือให้ frontline ที่อยู่ใกล้ชิดกับลูกค้าเป็นกำลังสำคัญขององค์กร สิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ หากองค์กรไม่ได้มีการปรับวัฒนธรรมและระบบการทำงาน รวมทั้งมายด์เซ็ตคนให้เกื้อหนุน และสอดคล้องตามไปด้วย


3. New Normal Requires Multi-skills

ในการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงทั่วโลกโดย PwC เมื่อปี 2562 พบว่า 79% ของซีอีโอมองว่า ความไม่เพียงพอของทักษะ (skill gap) เป็นปัญหาสำคัญที่กระทบต่อขีดความสามารถในการเติบโตขององค์กร เพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 53% ของการสำรวจเมื่อปี 2555 ทั้งนี้เนื่องจากดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่นได้ทำให้มีความต้องการทักษะด้านใหม่ ๆ เกิดขึ้น และทำให้งานบางอย่างลดหรือหมดความสำคัญไปนั่นเอง ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่าโควิด-19 จะเป็นตัวเร่งปรากฏการณ์นี้ยิ่งขึ้นไปอีก มันคงเป็นเรื่องน่าเศร้าอย่างยิ่ง เมื่อโควิดเข้ามาทำให้คนต้อง work from home แล้วตื่นขึ้นมาพบว่า จู่ ๆ งานที่เราเคยทำมันไม่มีความสำคัญอีกต่อไปแล้ว หรือมีคนอื่น AI หรือเครื่องมือที่สามารถทำงานแทนเราได้


4. Huge Opportunity to tap into people’s full potential

อย่างไรก็ตามเมื่อมีความท้าทาย ก็ย่อมมีโอกาส ด้วยเครื่องมือใหม่ ๆ มายด์เซ็ตใหม่ ๆ และวัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่ เรามีโอกาสอีกมากมายมหาศาลที่จะ Multiply ขีดความสามารถของคนในองค์กรเรา ให้ส่งมอบผลงาน หรือผลลัพธ์ที่เพิ่มพูนกว่าเดิม


5. How to sustain momentum of changes after crisis

ในช่วงวิกฤต หรือยามคับขัน เรามักมีพลังงานพิเศษที่ทำให้เราทำสิ่งอัศจรรย์ได้เสมอ เช่น เราจะได้ยินเรื่องของคนที่บ้านไฟไหม้ แล้วอารามตกใจสามารถยกโอ่งน้ำทั้งใบใหญ่ ๆ ออกมาจากบ้านได้โดยลำพัง ฯลฯ


ในช่วงโควิดก็เช่นกัน หลายองค์กรพบว่าพวกเขาสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ หรือสามารถทำการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่เคยคิดว่าต้องใช้เวลาหลายปีได้โดยใช้เวลาเพียงสั้น ๆ ความท้าทายสำคัญในตอนนี้คือทำอย่างไรจึงจะรักษาโมเมนตัม หรือขีดความสามารถนี้ไว้ให้ได้ เมื่อวิกฤตหมดไปแล้ว


“ไม่ต้องมีไฟไหม้บ้าน คุณก็จะยังยกตุ่มน้ำใหญ่ ๆ หลังบ้านได้เช่นเดิม”…. ภาพนี้ถ้าเปรียบกับองค์กร หรือปัจเจกบุคคล หากใครรักษาพลังแห่งนวัตกรรม หรือแรงขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง และผลงานต่างๆ ที่ทำได้อย่างน่าทึ่งในช่วงวิกฤตโควิดนี้ให้ยั่งยืนต่อไปได้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าคุณจะเป็นผู้ชนะ และผู้อยู่รอดได้ในยุค “Never Normal” ได้อย่างแน่นอน


พร้อมรับความท้าทาย (และโอกาส) ในยุค “Never Normal” สมาชิก PMAT รับข้อเสนอพิเศษ เมื่อสมัครเข้าเรียน PacRim Power Skills Online Series คอนเทนต์ระดับ World Class แบบ Problem-based Learning ที่ได้ผลที่สุด คุ้มค่าที่สุด เรียน Virtual Live Session และ Micro Learning ฯลฯ ที่เน้น Mindset และ Skillsets ที่จำเป็นสำหรับปัจจุบัน และอนาคต คลิก https://www.pacrimgroup.com/solutions/online-learning-platform__trashed/pacrim-power-skills/ หรือ ติดต่อ คุณเบ็ญจวรรณ์ งามระลึก โทร. 083-495-6915  อีเมล: benjawan@pacrimgroup.com
ดู 374 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page