top of page

พนักงานใหม่ประสบความสำเร็จในภาวะวิกฤต

ผศ.รัชฎาทิพย์ อุปถัมภ์ประชา | rachadatip@yahoo.com

องค์กรจะมั่นใจได้อย่างไรว่าพนักงานใหม่จะประสบความสำเร็จในโปรแกรมการเตรียมความพร้อมและการสนับสนุนพนักงานใหม่ในช่วงวิกฤต เช่น การแพร่ระบาดของ COVID-19 องค์กรสามารถทำได้โดยการปรับโปรแกรมการเตรียมความพร้อมของพนักงานต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ปัจจัยหลักสามประการเป็นรากฐานสำหรับความสำเร็จของพนักงานใหม่ (1) การสร้างความรู้และความมั่นใจ (2) การสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมและ (3) การสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน เมื่อพนักงานใหม่ที่มีความสามารถสูงไม่ได้รับพื้นฐานที่มั่นคง พวกเขาอาจจะออกไปจากองค์กร


ในช่วงวิกฤตโรคระบาด การสร้างเส้นทางความสำเร็จในการจ้างงานใหม่นั้นยากยิ่งกว่าเพราะพนักงานใหม่ประสบปัญหากับความเครียด องค์กรควรจะมีโปรแกรมเตรียมความพร้อมที่มีความทันสมัยและปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงตามกระแสของวิกฤตในองค์กร หากไม่มีโปรแกรมเตรียมความพร้อมที่ดีช่วยในการจ้างงานใหม่ พนักงานใหม่จะมีความเครียดและความวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงนำเสนอขั้นตอนที่เป็นรูปธรรมและคำแนะนำในการสร้างหรือปรับปรุงโปรแกรมเตรียมความพร้อมให้มีความทันสมัย โดยมุ่งเน้นไปที่ความสำเร็จของพนักงานใหม่ ซึ่งได้แก่

> ความรู้และความมั่นใจ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของพนักงานในองค์กร วิธีการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิผลและสิ่งที่จะต้องทำเพื่อทำให้การทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานและทีมงานประสบความสำเร็จ


> การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม หมายถึง ความรู้สึกของการเป็นสมาชิกทางสังคมของทีมและขององค์กรที่สามารถใช้เพื่อสนับสนุนการเติบโตของพนักงานและสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่พนักงาน


> การมีความเป็นอยู่ที่ดี หมายถึง การที่พนักงานมีความสุขและมีสุขภาพที่ดีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ


> ความเครียดและความวิตกกังวลของพนักงาน หมายถึง การที่พนักงานใหม่ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนทั้งที่บ้านและในที่ทำงานและต้องพบเจอกับสภาพแวดล้อมใหม่ที่ไม่คุ้นเคยและอาจจะยังมีความสับสน ในขณะเดียวกันก็ต้องดูแลชีวิตส่วนตัวของตนเอง


> การสื่อสารและความไม่แน่นอนในบทบาทหน้าที่ หมายถึง การขาดความรู้ว่าควรสื่อสารอย่างไร ควรสื่อสารกับใคร ความไม่แน่ใจในบทบาทของตัวเองภายในทีมและในองค์กรว่าควรจะเป็นอย่างไร


> การเปลี่ยนแปลงของงาน ทีมงาน กระบวนการและเป้าหมายขององค์กร หมายถึง การตอบสนองต่อวิกฤตขององค์กรจำเป็นจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและรวดเร็วเพื่อปรับให้เข้ากับสถานการณ์ที่ส่งผลให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับเป้าหมายที่พนักงานกำลังดำเนินการและกระบวนการเพื่อทำให้บรรลุเป้าหมายเหล่านั้น


> ข้อมูลหรือแนวทางในโปรแกรมการเตรียมความพร้อมหยุดนิ่งหรือเก่าเกินไป หมายถึง การเริ่มต้นใช้งานโปรแกรมเตรียมความพร้อมให้แก่พนักงานใหม่ขององค์กรล้าสมัย ไม่ประสบความสำเร็จแล้วและขาดข้อมูลและโครงสร้างการจ้างงานที่สำคัญ


> อุปสรรคทางร่างกายและสังคม หมายถึง พนักงานใหม่และทีมงานในองค์กรที่มีอยู่เดิมจะต้องทำงานแบบออนไลน์หรือในสภาพแวดล้อมที่ต้องรักษาระยะห่างทางสังคม ซึ่งทำให้ยากต่อการสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ส่วนบุคคล


> การขาดเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ หมายถึง การจ้างงานใหม่อาจขาดเครื่องมือที่จำเป็นในการใช้งาน เพื่อการทำงานให้สำเร็จ เช่น คอมพิวเตอร์ การเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ขององค์กร การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการติดต่อสื่อสาร


องค์ประกอบพื้นฐานสำหรับพนักงานใหม่ที่จะประสบความสำเร็จและเอาชนะอุปสรรคที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาของวิกฤต ได้มีการจัดลำดับความสำคัญของกรอบการทำงานในการเตรียมความพร้อมโดยใช้ C สามตัวได้แก่ (1) การสร้างโครงสร้าง (create structure) (2) การสร้างความสัมพันธ์กับผู้คน (connect people) และ (3) การปรับตัวอย่างต่อเนื่อง (continue adapting) แนวทางนี้มุ่งเน้นไปที่ปัจจัยพื้นฐานในการสร้างความสำเร็จในการเริ่มต้นใช้งานโปรแกรมเตรียมความพร้อมและรวมถึงการดำเนินการบางอย่างที่องค์กรควรพิจารณาเมื่อปรับโปรแกรมเตรียมความพรัอมใหม่ การเริ่มต้นใช้งานกับสถานการณ์ที่ไม่ปกติที่เกิดจาก COVID-19 และวิกฤตในอนาคต ช่วยให้พนักงานใหม่มีเส้นทางการทำงานที่มุ่งสู่ความสำเร็จ โปรแกรมเตรียมความพร้อมนี้มีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะนำไปใช้กับองค์กรส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 และการปรับตัวให้เข้ากับวิกฤต COVID-19
ดู 93 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comentários


bottom of page