นพพร โสวรรณะ (หนุ่ย) | noppon.nps@gmail.com | Khon Content Creator
หลังจากการแพร่ระบาดระลอกที่ 2 ของโควิด-19 ในประเทศไทย (BBC News, 2020) ทุกคนตระหนักมากขึ้นถึงการเปลี่ยนแปลงที่ตอกย้ำว่าทุกอย่างจะไม่สามารถกลับมาเหมือนเดิมอีกต่อไป การดำเนินชีวิตภายใต้การรักษาระยะห่าง ล้างมือบ่อยๆ ใส่หน้ากากเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดทำให้รูปแบบการดำเนินธุรกิจเปลี่ยนไปอย่างมาก การดำเนินชีวิตและการทำงานต้องอาศัยความสามารถด้านเทคโนโลยี โซเชียล ออนไลน์ ที่หลายๆ คนต้องปรับตัวอย่างเร่งด่วน
จากการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างกระทันหัน ที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจ ทำให้หลายๆ คน ยังไม่พร้อมที่จะรับมือ ดังนั้น เรื่องของกรอบความคิด (Mindset) ในมุมต่างๆ ได้ถูกนำเอามากล่าวถึงว่ามีความสำคัญต่อการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงนี้โดยเฉพาะเรื่อง Growth Mindset ซึ่ง Carol Dweck นักจิตวิทยาชื่อดังจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้เขียนไว้ในหนังสือ Mindset: The New Psychology of Success, (ชื่อภาษาไทย: ใช้ความคิดเอาชนะโชคชะตา) โดย Carol Dweck ได้แยกกรอบความคิดออกเป็นสองแบบ คือ กรอบความคิดแบบตายตัว (Fixed mindset) ซึ่งเชื่อว่า ความสามารถหรือสติปัญญาของคนเกิดมาอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น เป็นเรื่องของพรสวรรค์ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และ กรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) ซึ่งเชื่อว่าทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงและเติบโตผ่านการใช้ทักษะและประสบการณ์ (HBR, 2010) คนที่มีกรอบความคิดเติบโต (Growth Mindset) จะประสบความสำเร็จมากกว่า เพราะคนที่มีกรอบความคิดแบบนี้จะเป็นคนที่ชอบความท้าทาย มองความพยายามว่าเป็นหนทางไปสู่ความรอบรู้ เรียนรู้จากคำวิจารณ์ หาแบบอย่างและแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของคนอื่น (Dweck, 2006)
จากแนวคิดข้างต้น ผู้เขียนได้ตกผลึกทางความคิดและนำเสนอออกมาเป็นหลักปฏิบัติง่ายๆ ที่ช่วยให้เราสามารถ ก้าวออกมาจากกับดักของความรู้สึกด้านลบที่มีอัตตาสูงคอยปิดกั้นอยู่และสามารถไปต่อได้ ด้วยหลัก ยอมรับ ปรับปรุงและ ไปต่อ (Accept Improve Move on) ดังนี้
1. ยอมรับ (Accept) หมายถึง การเปิดใจยอมรับในข้อผิดพลาด ยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น ยอมรับฟังความคิดเห็นจากคนอื่นๆ ที่แนะนำเรา ไม่ปิดกั้นตัวเอง เพื่อได้เรียนรู้จากข้อผิดพลาด การยอมรับแต่โดยดี ต้องลดอัตตาของเราลงมา ไม่คิดต่อต้าน หาข้ออ้างต่างๆ เพื่อให้ตัวเองรู้สึกว่าถูกต้อง หรือ เหนือกว่าคนอื่น
2. ปรับปรุง (Improve) หมายถึง ปรับความคิด ปรับความรู้สึก ปรับพลังให้กลับมาเป็นบวกใหม่ สำรวจดูว่าตัวเราต้องปรับปรุงในเรื่องใดบ้าง มีทักษะไหนที่ต้องพัฒนาให้พร้อมเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น และควรปรับให้เร็วเพื่อไม่ให้ใจกลับไปคิดวนอยู่ในความรู้สึกผิดหวัง อิจฉา ฯลฯ
3. ไปต่อ (Move on) หมายถึง การมองไปข้างหน้า มองไปที่เป้าหมายว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ เป้าหมายที่ต้องบรรลุคืออะไร แล้วลงมือทำต่อไป ไม่ปล่อยให้ใจกลับไปที่จุดเดิม ที่มีความโกรธ ความเครียดแค้นความผิดหวัง ฯลฯ ฟันฝ่าอุปสรรคต่อไปอย่างมุ่งมั่น เพื่อความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการนำหลักปฏิบัติข้างต้นมาปรับใช้ดังนี้
จากตัวอย่างทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว ท่านผู้อ่านจะเห็นว่า หลักปฏิบัติข้างต้น ยอมรับ ปรับปรุง ไปต่อ สามารถทำให้เราก้าวข้ามเหตุการณ์ไม่ดีไปได้ อย่างดี ช่วยให้เราสามารถ ลดอัตตา พัฒนาตน กลายเป็นคนใหม่ ได้ในเวลาอันสั้น การฝึกขั้นตอนนี้จนเป้นนิสัย เราสามารถหลุดจากสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย
コメント